เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [13. เตรสมวรรค] 3. อนันตราปยุตตกถา (128)
ปร. หากกรรมที่ใช้ให้ทำนั้นก่อความรำคาญใจให้ ให้เกิดความเดือดร้อนใจได้
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลผู้ใช้ให้ทำอนันตริยกรรมพึงก้าวลงสู่สัมมัตตนิยามได้”
[661] สก. บุคคลผู้ใช้ให้ทำอนันตริยกรรม เป็นผู้ไม่ควรก้าวลงสู่สัมมัตต-
นิยามใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เขาได้ปลงชีวิตมารดา ปลงชีวิตบิดา ปลงชีวิตพระอรหันต์ มีจิตคิด
ประทุษร้ายทำร้ายพระตถาคตจนพระโลหิตห้อ ทำลายสงฆ์ให้แตกกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ใช้ให้ทำอนันตริยกรรม ล้มเลิกกรรมนั้นแล้ว บรรเทาความ
รำคาญใจ กำจัดความเดือดร้อนใจได้แล้ว เป็นผู้ไม่ควรก้าวลงสู่สัมมัตตนิยามใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เขาปลงชีวิตมารดา ปลงชีวิตบิดา ฯลฯ ทำลายสงฆ์ให้แตกกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ใช้ให้ทำอนันตริยกรรมล้มเลิกกรรมนั้นแล้ว บรรเทาความรำคาญใจ
กำจัดความเดือดร้อนใจได้แล้ว เป็นผู้ไม่ควรก้าวลงสู่สัมมัตตนิยามใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เขาล้มเลิกกรรมนั้น บรรเทาความรำคาญใจ กำจัดความเดือดร้อนใจ
แล้วมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากเขาล้มเลิมกรรมนั้นแล้ว บรรเทาความรำคาญใจ กำจัดความ
เดือดร้อนใจได้แล้ว ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลผู้ใช้ให้ทำอนันตริยกรรมล้ม
เลิกกรรมนั้นแล้ว บรรเทาความรำคาญใจ กำจัดความเดือดร้อนใจได้แล้ว เป็นผู้
ไม่ควรก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :714 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [13. เตรสมวรรค] 4. นิยตัสสนิยามกถา (129)
[662] ปร. บุคคลผู้ใช้ให้ทำอนันตริยกรรมพึงก้าวลงสู่สัมมัตตนิยามได้ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. เขาเป็นผู้ใช้ให้ทำกรรมนั้นมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากเขาเป็นผู้ใช้ให้ทำกรรมนั้น ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลผู้ใช้ให้
ทำอนันตริยกรรมพึงก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม”
อนันตราปยุตตกถา จบ

4. นิยตัสสนิยามกถา (129)
ว่าด้วยนิยามของบุคคลผู้แน่นอน
[663] สก. บุคคลผู้แน่นอน1ก้าวลงสู่นิยาม2 ได้ใช่ไหม
ปร.3 ใช่4
สก. บุคคลผู้แน่นอนในมิจฉัตตะก้าวลงสู่สัมมัตตนิยามได้ บุคคลผู้แน่นอน
ในสัมมัตตะก็ก้าวลงสู่มิจฉัตตนิยามได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 บุคคลผู้แน่นอน ในที่นี้หมายถึงผู้เป็นพระโพธิสัตว์ที่ได้รับเอกังสพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าว่า จักบรรลุ
โพธิญาณ (ปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้) ในอนาคตอย่างแน่นอน (อภิ.ปญฺจ.อ. 663-664/269)
2 นิยาม ในที่นี้หมายถึงนิยาม 2 อย่าง คือ (1) มิจฉัตตนิยามหรือเรียกว่าอนันตริยกรรม (2) สัมมัตต-
นิยามหรือเรียกว่าอริยมรรค (อภิ.ปญฺจ.อ. 663-664/269)
3 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะและนิกายปรเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 663/269)
4 เพราะมีความเห็นว่า พระโพธิสัตว์ผู้ได้รับเอกังสพยากรณ์ชื่อว่าเข้าถึงนิยามแล้ว โดยเชื่อว่าการได้รับ
พยากรณ์เช่นนั้นเป็นการก้าวลงสู่นิยามประเภทหนึ่ง ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า การได้รับ
เอกังสพยากรณ์ไม่ชื่อว่าเป็นการเข้าถึงนิยาม (อภิ.ปญฺจ.อ. 663/269)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :715 }